หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

เก๊าท์คืออะไร

เก๊าท์คืออะไร

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์



เก๊าท์มีอาการอะไรบ้าง ?

เก๊าท์จะมีอาการร่วมกันหลายอย่างดังนี้

1. เจาะเลือดพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ ค่าปกติไม่เกิน 8 มก./ดล.
2. ข้ออักเสบมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อ มักเป็นรุนแรงเป็นๆ หายๆ เป็นได้กับทุกข้อ แต่พบมากที่ข้อหัวแม่เท้า
3. พบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
4. พบก้อนขาวคล้ายหินปูนเรียกว่า โทไฟ (TOPHI) เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรต (URATE) ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค (URIC ACID) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน (พบบ่อยที่หู) หรือตามข้อต่างๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์เกือบทุกราย จะมีกรดยูริคในเลือดสูงร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่มีอาการปวดข้อ หรือเจาะข้อไม่พบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำ และไขข้อไม่ควรเรียกว่า โรคเก๊าท์ อาจจะเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ?

1. เมื่อมีอาการปวดข้อควรไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติโดยอาศัยอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น มีอาการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นที่หัวแม่เท้า เป็นๆ หายๆ พร้อมกับเจาะเลือดดูกรดยูริค ถ้าสูงมากกว่า 8 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อให้ยาบางชนิดไปรับประทานอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง
2. เจาะน้ำไขข้อมาตรวจดูผลึกเกลือยูเรต (MONOSODIUM URATE)
3. เอกซเรย์ข้อที่ปวด

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ โดยการรักษาการอักเสบของข้อ พักการใช้ข้อที่ปวด พร้อมกับรับประทานยาป้องกันโรคแทรกซ้อนด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ในรายที่มีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร? ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลดังนี้

1. ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการปวดข้อ
2. ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว
3. เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได้
4. โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ?

ปัจจุบันมีการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้

1. ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ
2. ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ
3. รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น
4. ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์หรือภาวะมีกรดยูริคในเลือดสูง

1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
2. ควบคุมอาหารโดยงดรับประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด เช่น ยอดกระถิน ชะอม แตงกวา
3. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะอาจจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง

สรุป

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่งสามารถถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดความพิการของข้อหรือนิ่วได้

ปริมาณสารพิวรีนในอาหารต่างๆ (ในปริมาณอาหาร 100 กรัม)

อาหาร มิลลิกรัม อาหาร มิลลิกรัม
เครื่องในไก่ 290 ผักตำลึง 89
ถั่วเหลือง 263 เนื้อ 83
ชะอม 247 ถั่วลิสง 74
ตับ 241 หมู 70
กระถิน 226 ดอกกะหล่ำ 68
ถั่วแดง 221 ผักบุ้ง 54
ถั่วเขียว 213 ปลาหมึก 53
กึ๋น 212 หน่อไม้ 47
กุ้ง 205 ถั่วฝักยาว 41
ปลาดุก 194 ถั่วลันเตา 41
ถั่วดำ 180 ต้นกระเทียม 39
ไก่ 157 ผักคะน้า 34
เซ่งจี้ 152 ผักบุ้งจีน 33
ใบขี้เหล็ก 133 ถั่วงอก, ถั่วแขก 28
สะตอ 122 ถั่วพู 19


แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com

เผยแพร่โดย เก๊าท์แดก ดอท คอม www.goutdak.com

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

โรคเก๊าท์ - แนวทางในการรักษาโรค

แนวทางในการรักษาโรค การรักษาโรคเก๊าท์ในปัจจุบัน อาศัยหลักสำคัญ 3 ประการ
1.รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบ พลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษา อาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้

2.ป้องกันไม่ให้เกิดการ อักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

3.รักษาภาวะกรดยูริคสูงใน เลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน

การรักษาในระยะเฉียบพลัน

1.จุดประสงค์เพื่อรักษา อาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น

2.ยาต้านการอักเสบชนิดที่ ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (indomethacin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) รับประทานในขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นลดขนาดลงเป็น 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4-10 วัน

3.ยาโคลชิซิน (colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์มาเป็นเวลานาน ได้ผลดีเมื่อให้ยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของอาการ โดยใช้ยาในขนาด รับประทานวันละไม่เกิน 3 เม็ด เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน ที่สำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาด้วยวิธีนี้ มักจะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ

4.การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) พบว่ามีประสิทธิภาพดี ทั้งรูปยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดเข้ากล้าม และยาฉีดเข้าข้อ เพรดนิโซโลน (prednisolone) รับประทานในขนาด 30 มิลลิกรัม ทุกวัน ค่อยๆลดขนาดลงจนสามารถหยุดยาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด ไทรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้ากล้าม

5.การพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ พักการใช้ข้อ ยกส่วนที่ปวดบวมให้สูง และประคบด้วยความเย็น พบว่าช่วยให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้นกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว

6.หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน ยาขับปัสสาวะ อาหารที่มีพิวรีนสูง แอลกอฮอล์ และไม่ให้ยาลดกรดยูริคขณะที่มีอาการข้ออักเสบ

การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด
1.การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ >3 ครั้งต่อปี, ผู้ที่มีก้อนโทฟัส และผู้ที่มีนิ่วกรดยูริค

2.ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง

3.ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยม ใช้เช่นกัน คือ โปรเบเนซิด probenecid ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เพิ่มขนาดยาสูงสุดได้ถึง 1500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

4.ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าการขับกรดยูริคออกทางไตลดน้อยลง ยาที่เพิ่มการขับกรดยูริค เช่น โปรเบเนซิด (probenecid) และ ซัลฟินพัยราโซน (sulfinpyrazone) จึงได้รับความนิยมที่จะใช้เป็นยาตัวแรกมากกว่า ในกรณีที่การทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง การใช้ยาเบนซโบรมาโรน (benzbromarone) จะได้ผลดีกว่า

5.ในปี 2005 ได้มีรายงานผลการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคในเลือดชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ uricase และ febuxostat พบว่าได้ผลดีมาก ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาชนิดเก่าที่เคยใช้กันมา

นอกจากการใช้ยาลดระดับกรดยูริกใน เลือดแล้ว ยังควรปฎิบัติตัวตามนี้

1.หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิด กรดยูริกสูงในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์ การรับประทานอาหารพวกเครื่องในสัตว์

2.พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะ นำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ข้อสำคัญควรไปหาแพทย์เพื่อรับตรวจรักษาอยู่สม่ำเสมอ

3.ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนิน ชีวิตบางประการ โดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่นตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเพิ่มปริมาณการสร้างกรดยูริกและลดการขับถ่าย กรดยูริกออกจากร่างกาย

4.ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป


แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com
เผยแพร่โดย GoutDak เก๊าท์แดก
eMail:goutdak@gmail.com

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

อาหาร กับ โรคเก๊าต์

อาหาร กับ โรคเก๊าต์

คุณรู้ไหมว่า ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการกินของเรา เพราะว่าถ้ากินไม่ดี ก็เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ารู้จักเลือกกินให้เหมาะสม จะทำให้คุณสามารถห่างไกลโรคได้ ซึ่งโรคเกาต์ ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เกิดจากปัญหาในเรื่องอาหารการกิน วิธีการป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก

โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดยูริกภายในข้อ และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัย ก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย

โดยปกติแล้ว ร่างกายจะได้กรดยูริกมาจาก 2 แหล่ง คือ

1.ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง โดยการสลายตัวของเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แต่ในบางคนที่ป่วยเป็นโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย จะทำให้มีการสลายตัวของเซลล์ ในร่างกายที่มาผิดปกติ

2. จากการกินอาหารบางชนิดที่ สารพิวรีนสูง ซึ่งสารชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปแล้ว จะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งสารพิวรีนนี้พบมากใน เนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ





คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะค่อยๆ กำเริบ โดยเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวด จะถี่ขึ้นและนานขึ้น จนเกิดอาการปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมไม่ได้ จะพบว่า ข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ กลายเป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากการสะสมของ กรดยูริกภายในข้อจำนวนมาก จนบางครั้ง ข้อที่ปวดนั้น เกิดการแตกออก และมีสารขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟัน ไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง และในที่สุดข้อต่างๆ จะค่อยๆ พิการ และใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไตตามมาได้อีกด้วย


• อาหารที่มีพิวรีนน้อย ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และผลไม้เกือบทุกชนิด (0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

• อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม (50-100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

• อาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ ชะอม กระถิน สะเดา เห็ด (150 มิลลิกรัมขึ้นไปต่ออาหาร 100 กรัม)

วิธีป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ การระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิด การอักเสบของข้อขึ้นอีก อาหาร ที่ผู้เป็นโรคเกาต์ ควรรับประทานให้มากคือ

1.อาหารจำพวกข้าว แป้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีน ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ เพื่อให้เป็นพลังงาน เพราะว่าการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้ จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมา ในกระแสเลือดมากขึ้น

2.คนเป็นโรคเกาต์ ควรระวังไม่รับประทานอาหาร จำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะว่าเนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีน ทำให้เกิดกรดยูริกได้มาก เช่นเดียวกันกับการทานอาหารไม่เพียงพอ แล้วร่างกายใช้โปรตีน ที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง จะทำให้เกิดอาการกำเริบได้

3.การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของกรดยูริก และทำให้เกิดการขับกรดยูริก ทางปัสสาวะมากขึ้น และสามารถป้องกัน โรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

4.นอกจากนี้ การรับประทานผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ ให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง ลดความเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น



เมื่อรู้ว่าเป็นโรคเกาต์แล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างไร กินอาหารอย่างไร อะไรที่กินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ และช่วยป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการเรื้อรังได้อีกเช่นกัน ดังนั้น หันมาใส่ใจกับอาหาร ที่เรากินกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีกว่า เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ


แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 74 สิงหาคม 2549
เผยแพร่โดย GoutDak เก๊าท์แดก
eMail:goutdak@gmail.com

ส่งมาเพียบเลย อ่านซะ...............พี่น้อง..................................

สวัสดีพี่น้องเอ๋ย..............เอ๋ย...........
ยังสบายดีกัน หรือเปล่าว............ร้อนใหม? พี่น้อง....................ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร ...........
ก็มีสิทธิ์ เก๊าท์แดก ได้เหมือนกัน..................นะพี่น้อง........................



"โรคเก๊าท์" เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอันเนื่องมาจากการกินชนิดอิ่มหมีพีมันเกินไป กินดีอยู่ดีเกินไป และไม่ค่อยไม่ออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ชายในวัยประมาณ 40 ปี แต่ถ้าเกิดในผู้หญิงมักจะพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว

สาเหตุของโรค

เกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ (ตับ, เซี่ยงจี้) เป็นต้น ซึ่งจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการ สร้างขึ้นพอดี สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูก โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

อาการของโรค

มีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และเจ็บ อาจรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ จะทิ้งช่วงระยะเวลาเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดอาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

การรักษา

โรคนี้เป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้มีน้อย ต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม วิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุด คือ พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

เป็นที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ท่านสามารถจะอยู่เป็นปกติสุขได้ ถ้าเพียงแต่ท่านจะปฏิบัติตนกลาง ๆ อย่างพอสัณฐานประมาณ เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ ท่านควรปฏิบัติตน ดังนี้
รับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ไม่ควรรับประทานชนิดของอาหารตามที่แพทย์สั่งห้าม
นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดฉับพลันได้ง่าย
สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์ยุ่งยาก ซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น
ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) จะช่วยได้มากในเรื่องนี้
ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด
ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบว่าท่านเป็นโรคเก๊าท์ ในกรณีที่ท่านจะได้รับการผ่าตัด แม้การผ่าตัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ จึงควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบก่อนทำการผ่าตัด เพื่อศัลยแพทย์จะได้หามาตรการบางอย่างเพื่อปฏิบัติต่อไป

ข้อพึงงดเว้น

อย่าเอาความวิตกกังวลไปเป็นเพื่อนนอน เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
อย่างออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงานหาความเพลิดเพลิน และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา แต่อย่าให้มากเกินไป
อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้ ฉะนั้น จึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
อย่างรับประทานยาอื่นใดนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ก่อนที่จะปรึกษากับแพทย์ของท่าน เพราะยาบางอย่างอาจออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฤทธิ์ของยารักษาโรคเก๊าท์
อย่าดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์มากจนเกินไป ปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ ขอให้ท่านปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์

อาหารกับโรคเก๊าท์
เป็นหลักที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปว่าผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงจากของรับประทานที่มีธาติอาหารพิวรีน (Purines) สูง อาหารพวกนี้ เช่น ตับอ่อน (Sweetbreads) ตับ เซ่งจี๊ ม้าม ลิ้น นอกเหนือไปจากนี้แล้วก็ไม่มีกฎตายตัวอะไรสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานได้เช่นปกติ แต่บางรายอาจต้องจำกัดการรับประทานพวกธาติอาหารพิวรีนดังกล่าว ซึ่งก็สุดแต่แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าท่านจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ต้องการหรือต้องจำกัด หรือต้องงดอาหารประเภทใดบ้าง ก็ขอให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนำในการจำกัดสารอาหารพิวรีน

อาหารที่ต้องงด

พวกเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ ไส้ สมอง เซ่งจี๊
กะปิ
ปลาซาดีน, ปลาซาดีนกระป๋อง
ไข่ปลา
น้ำซุบสกัดจากเนื้อสัตว์, น้ำเคี่ยวเนื้อ (Meat extracts)
น้ำเกรวี (Gravies)

อาหารที่ต้องลด (ต้องจำกัด)
เนื้อสัตว์ (เหลือวันละมื้อ)
ปลาทุกชนิด และอาหารทะเลอื่น ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู (เหลือวันละมื้อ)
เบียร์ และเหล้าต่าง ๆ
ถั่วบางอย่าง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา
ผักบางอย่าง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง, แอสพารากัส, กระหล่ำดอก, ฝักขม, เห็ด
ข้าวโอ๊ต
ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก (Whole-wheat cereal)

อาหารที่รับประทานได้ตามปกติ
ข้าวต่าง ๆ (ยกเว้นข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก)
ผัก (ยกเว้นชนิดที่ระบุให้จำกัด)
ผลไม้
น้ำนม
ไข่
ขนมปังเสริมวิตามิน
เนย และเนยเทียม
าหารอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุให้งด หรือให้จำกัด

โรคเก๊าฑ์ โดยนพ.สุเมธ เถาหมอ


สวัสดีพี่น้องเอ๋ย..............เอ๋ย...........
ยังสบายดีกัน หรือเปล่าว............ร้อนใหม? พี่น้อง....................ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร ...........
ก็มีสิทธิ์เก๊าท์แดกได้เหมือนกัน..................นะพี่น้อง........................


ทานอาหารเช้า ทานยาตามหมอสั่ง ดื่มน้ำมากๆหน่อย เปิดอีเมลมา พบ ท่านผู้ร่วมชะตากรรมเก๊าท์ แดก เหมือนกัน ส่งบทความมาให้

ขอขอบคุณทุกท่านที่ส่งบทความมาให้
ท่านใดมีคำแนะนำ เกี่ยวกับโรคเก๊าท์ และวิธีการรักษา เพื่อเป็นวิทยาทาน ให้กับผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคนี้
ก็ ส่งมาที่ พี่ตุ๊ eMail:goutdak@gmail.com



ความรู้สุขภาพ
โรคเก๊าท์และการดูแลอาหารของผู้ที่เป็นโรค เก๊าท์



โรคเก๊าฑ์ โดยนพ.สุเมธ เถาหมอ


โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือดในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอนสะสมอยู่ตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้าทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอน
ไปเรื่อย ๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อเมื่อกรดยูริค ในเลือดสูงไปประมาณ 10-20 ปีแล้ว
ยู ริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ผู้ป่วย โรคเก๊าท์งดอาหารใด ๆ ที่มียูริคสูงเลยและการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใดและเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วยที่มี อายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่า ๆ

อาการ

อา การของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียวและมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใด ๆ ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้นหลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย

การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่

1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด

การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ว่าให้ กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึก ที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4 เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้ น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบเป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้

2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้ การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมดผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ

- ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
- เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด

ดัง นั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา

มีผู้ เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้





อีกบทความหนึ่งวึ่งจะกล่าวถึงการดูแลเรื่องอาหารของผู้ที่ เป็นโรคเก๊าท์ด้วย

โรคเก๊าท์ เกิดจากการเผาผลาญพิวรีนในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกรดยูริคคั่งในเลือดสูงแ ลตามข้อเล็ก ๆ และอวัยวะบางแห่ง อาจเกลือโซเดียมยูเรตเกาะอยู่ทำให้เกิดอาการที่อวัยวะนั้นๆ ส่วนมากอากาศจะเกิดเป็นครั้งคราว มักจะกำเริบมากขึ้น เมื่อบริโภคอาหารพวก นิวคลีโอโปรตีน และไขมันมาก หรือขณะดื่มแอลกอฮอล์และการออกกำลังกาย ทำให้กรดยูริคมากขึ้น

การกรดยูริคในร่างกายเกิดได้ 2 ทางคือ


1.เกิด จากกสารพิวรีน หรือนิวคลิโอโปรตีน ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารที่บริโภคส่วนนี้เป็นกรดยูริคที่เกิดจากสาเหตุภาย นอก จำนวนพิวรีนที่เกิดจากอาหารบริโภค จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนพิวรีนที่มีในอาหาร ถ้าบริโภคอาหาร เครื่องในสัตว์ จะทำให้มีกรดยูริคสูงขึ้น อาหารบางชนิดกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีกรดยูริคเพิ่มมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า กรดยูริคจะเปลี่ยนแปลงไปตามอาหารบริโภคที่มีโปรตีน การออกกำลังกาย และตามการทำงานของต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร

2.เกิด จากสารพิวรีน ที่ได้จากการสลายตัวของพวกเซลล์ของอวัยวะในร่างกาย เป็นกรดยูริคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย กรดยูริคที่เกิดจากส่วนนี้ ย่อมจะเปลี่ยนไปตามการสลายตัวของอวัยวะ เช่น เซลล์มีการทำงานมากขึ้น หรือมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

อาการของโรค เก๊าท์

1.ระยะแรกมักมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทัน ใด มักพบอาการปวดที่หัวแม่เท้าก่อน อาการมักเกิดขึ้นภายหลังการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงมาก ๆ การดื่มเหล้ามาก หรือการสวมรองเท้าที่คับ บริเวณผิวหนังตรงข้อที่อักเสบจะตึงร้อน เป็นมัน ผู้ป่วยมักจะมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีเม็ดเลือดขาวสูง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ใน 2-3 วัน และหายไปเองในระยะ 5-7 วัน

2.ระยะพัก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดง แต่กรดยูริคในเลือดมักสูง และอาการอักเสบอาจเกิดขึ้นอีกจนถึงขึ้นเรื้อรัง อาจมีอาการเป็นระยะ ๆ เนื่องจากผลึกยูเรตเป็นจำนวนมากสะสมอยู่ในข้อกระดูกเยื่ออ่อนของข้อต่อ และบริเวณเส้นเอ็น ทำให้เกิดโรคข้อกระดูกเสื่อม เมื่อเป็นมากจะมีการสะสมของผลึกนี้ที่เยื่อบุภายในปลอกหุ้มข้อ และเกิดปุ่มขึ้นที่ใต้ผิวหนัง มักเริ่มที่หัวแม่เท้า และปลายใบหูก่อน ข้อที่มีผลึกยูเรตเกาะอยู่ อาจเปลี่ยนแปลงจนผิดรูป และเกิดความพิการที่ข้อกระดูกนั้น ๆ

3.อาการแทรกซ้อน พบว่า ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยข้ออักเสบเฉียบพลันจากเก๊าท์มักมีนิ่วในไตด้วย ผลึกยูเรตอาจสะสมอยู่ในส่วนหมวกไต ทำให้มีอาการเลือดออกทางปัสสาวะ ถ้ามีการสะสมในไตมาก ๆ จะขัดการทำงานของไต หรือทำลายเนื้อไต ทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลว

การควบคุมอาหาร เนื่องจาก กรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่มีพวรีน อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

1.นมและผลิตภัณฑ์จาก นม 2.ไข่ 3.ธัญญพืชต่าง ๆ 4.ผักต่าง ๆ 5.ผลไม้ต่าง ๆ 6.น้ำตาล
7.ผลไม้ เปลือกแข็ง(ทุกชนิด) 8.ไขมัน

อาหารที่มีสาร พิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

1.เนื้อ หมู 2.เนื้อวัว 3.ปลากระพงแดง 4.ปลาหมึก 5.ปู 6.ถั่วลิสง 7.ใบขี้เหล็ก
8.สะตอ 9.ข้าวโอ๊ต 10.ผักโขม 11.เมล็ดถั่วลันเตา 12.หน่อไม้

อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป) * อาหารที่ควรงด

1.หัวใจไก่ 2.ไข่ปลา 3.ตับไก่ 4.มันสมองวัว 5.กึ๋นไก่ 6.หอย 7.เซ่งจี้(หมู) 8.ห่าน 9.ตับหมู 10.น้ำต้มกระดูก 11.ปลาดุก 12.ยีสต์ 13.เนื้อไก่,เป็ด 14.ซุปก้อน 15.กุ้งชีแฮ้ 16.น้ำซุปต่าง ๆ 17.น้ำสกัดเนื้อ 18.ปลาไส้ตัน 19.ถั่วดำ 20.ปลาขนาดเล็ก 21.ถั่วแดง 22.เห็ด 23.ถั่วเขียว 24.กระถิน 25.ถั่วเหลือง 26.ตับอ่อน 27.ชะอม 28.ปลาอินทรีย์ 29.กะปิ 30.ปลาซาดีนกระป๋อง

การกำหนดอาหาร

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรค เก๊าท์ ควรมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้ สารอาหารครบถ้วน และงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมากดังกล่าวแล้ว

1.พลังงาน ผู้ป่วยที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานในอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลงทั้งนี้ เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการรุนแรง ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลายของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะทำให้สารยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และอาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และควรได้พลังงานประมาณวันละ 1,200-1,600 แคลอรี่

2.โปรตีน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก

3.ไขมัน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูนิคได้ไม่ดี และพบว่า ผู้ป่วยที่อ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย

4.คาร์โปไฮเดรท ควรได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่าง ๆ และผลไม้ ส่วนน้ำตาลไม่ควรกินมาก เพราะการกินน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย

5.แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามาก ๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริคถูกขับถ่ายได้น้อยลง

การ จัดอาหาร



ในการจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่แพทย์ให้จำกัดสารพิวรี นอย่างเข้มงวด ผู้จัดต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทั้งในด้านโภชนาการ และรสชาติ ลักษณะอาหาร เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ตามที่กำหนด และได้รับสารอาหารเพียงพอ

1.ในระยะที่มีอาการรุนแรง ควรงดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก ในระหว่างมื้ออาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไตและป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่ว พวกยูเรตขึ้นได้ที่ไต
2.งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด และขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และไขมันมาก
3.จัดอาหารที่มีใยอาหารมาก แก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักลดลง
4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้ามีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น
5.อาหารที่มี ไขมันมาก จะทำให้ขับกรดยูริคน้อยลง ทำให้มีการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

GoutDak มี FanClub แล้วนะครับ เป็นท่าน(ไม่ประสงค์ออกนาม แต่ประสงค์ออกเงิน.....ไอ๊ไม่ใช่ เป็นผู้ที่เห็นบทความของผมเขียน ประชาสัมพันเกี่ยวกับโรคเก๊าท์ ก็ส่งมาให้อ่าน ก็เห็นเป็ประโยชน์ แต่เป็นภาษาอังกฤษ และเป็นศัพท์แพทย์ ก็ต้องใช้ความพยายาม สักหน่อย
สำหรับเก๊าท์แดก แฟนคลับ ท่านได ต้องการเผยแพร่ก็ ส่งมาได้ครับที่
eMail:goutdak@gmail.com

ขอบคุณทุกสาย ทุกเสียง ทุกอีเมล ครับพี่น้อง
ขอให้ทุกท่านมีความสุข ความเจริญ คิดสิ่งใดสมปรารถนา ไม่มีปัญหาทางเพศ

แล้วพบกันครับ......

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

เก๊าท์คืออะไร

เก๊าท์คืออะไร

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

เก๊าท์มีอาการอะไรบ้าง ?

เก๊าท์ จะมีอาการร่วมกันหลายอย่างดังนี้

1. เจาะเลือดพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ ค่าปกติไม่เกิน 8 มก./ดล.
2. ข้ออักเสบมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อ มักเป็นรุนแรงเป็นๆ หายๆ เป็นได้กับทุกข้อ แต่พบมากที่ข้อหัวแม่เท้า
3. พบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
4. พบก้อนขาวคล้ายหินปูนเรียกว่า โทไฟ (TOPHI) เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรต (URATE) ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค (URIC ACID) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน (พบบ่อยที่หู) หรือตามข้อต่างๆ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์เกือบทุกราย จะมีกรดยูริคในเลือดสูงร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่มีอาการปวดข้อ หรือเจาะข้อไม่พบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำ และไขข้อไม่ควรเรียกว่า โรคเก๊าท์ อาจจะเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ?

1. เมื่อมีอาการปวดข้อควรไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติโดยอาศัยอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น มีอาการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นที่หัวแม่เท้า เป็นๆ หายๆ พร้อมกับเจาะเลือดดูกรดยูริค ถ้าสูงมากกว่า 8 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อให้ยาบางชนิดไปรับประทานอาการปวดข้อก็จะหายไปภา ยใน 48 ชั่วโมง
2. เจาะน้ำไขข้อมาตรวจดูผลึกเกลือยูเรต (MONOSODIUM URATE)
3. เอกซเรย์ข้อที่ปวด

โรคเก๊าท์ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ โดยการรักษาการอักเสบของข้อ พักการใช้ข้อที่ปวด พร้อมกับรับประทานยาป้องกันโรคแทรกซ้อนด้วยการควบคุม อาหาร รับประทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ในรายที่มีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร?
ถ้า ไม่รักษาจะเกิดผลดังนี้

1. ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการปวดข้อ
2. ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว
3. เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได ้
4. โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

การ รักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ?

ปัจจุบันมีการรักษาโรค เก๊าท์ ดังนี้

1. ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอัก เสบ
2. ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ
3. รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น
4. ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น

เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์หรือภาวะมีกรดยูริคใ นเลือดสูง

1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
2. ควบคุมอาหารโดยงดรับประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด เช่น ยอดกระถิน ชะอม แตงกวา
3. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะอาจจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง

สรุป

เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่งสามารถถ่ายทอดได้ทางกรร มพันธุ์ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดความพิการของข้อหรือนิ่วได ้

ปริมาณสารพิวรีนในอาหารต่างๆ (ในปริมาณอาหาร 100 กรัม)

อาหาร มิลลิกรัม อาหาร มิลลิกรัม
เครื่องในไก่ 290 ผักตำลึง 89
ถั่วเหลือง 263 เนื้อ 83
ชะอม 247 ถั่วลิสง 74
ตับ 241 หมู 70
กระถิน 226 ดอกกะหล่ำ 68
ถั่วแดง 221 ผักบุ้ง 54
ถั่วเขียว 213 ปลาหมึก 53
กึ๋น 212 หน่อไม้ 47
กุ้ง 205 ถั่วฝักยาว 41
ปลาดุก 194 ถั่วลันเตา 41
ถั่วดำ 180 ต้นกระเทียม 39
ไก่ 157 ผักคะน้า 34
เซ่งจี้ 152 ผักบุ้งจีน 33
ใบขี้เหล็ก 133 ถั่วงอก, ถั่วแขก 28
สะตอ 122 ถั่วพู 19

โรคเก้าท์ [GOUT]

โรคเก้าท์เป็นโรคที่เกิดจากการตก ผลึกของกรดยูริคในเนื้อเยื่อและข้อต่าง ๆ เรามักจะพบในกลุ่มของผู้ที่กินดีอยู่ดี นอกจากนี้อาจจะพบในผู้ป่วยเพศหญิงวัยหมดประจำ เดือน ซึ่งมักจะมีระดับของกรดยูริคสูงในเลือด ภาวะที่ มีกรดยูริคสูงในเลือดไม่ใช่โรคเก้าท์แต่เรียก ว่า "Hyperuricemia" จากการศึกษาพบว่าในประชากรทั่ว ๆ ไป ไม่มีอาการปวดข้อ พบภาวะ Hyperuricemia นี้ได้ถึง 5 - 13 % นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ มีภาวะนี้จะเกิดอาการของโรคเก้าท์ได้น้อย กว่า1 ใน 5 คน การที่มีภาวะ Hyperuricemiaอาจจะเกิด ได้จากการรับประทานอาหารที่มีสารที่ทำให้ เกิดกรดยูริคสูง เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และผัก อ่อน ๆ ทั้งหลาย สำหรับอาหารไทย พบในผักที่รับ ประทานกับน้ำพริก เป็นต้น
มีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสภาวะแวด ล้อมหลายประการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การผลิต จนถึงการขับถ่ายกรดยูริค เช่น น้ำหนักตัว ของผู้ป่วย ลักษณะความเป็นอยู่ อาหารการกิน ความเข้มข้นของ เลือด เป็นต้น ประวัติการเกิดโรคเก้าท์ในครอบครัวพบ ได้ประมาณ 20 %
อาการแสดงของโรคเก้าท์ แบ่งได้ 3 แบบ คือ
1. ข้ออักเสบ มักพบที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า นอกจากนี้ยังพบบริเวณข้อ อื่น ๆ ของเท้าได้บริเวณมือและแขน พบได้น้อยกว่า อาการแสดงครั้งแรกมักจะเป็นตอนกลางคืน บริเวณที่อักเสบจะมีอาการปวด บวม แดง และร้อนคล้าย ๆ กับจะเป็นหนอง มักจะมี ไข้ร่วมด้วย และอาจจะมีอาการหนาวสั่น อาการอักเสบอาจจะเป็น มากจนทำให้เดินไม่ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการพักและ ยกส่วนอักเสบให้ สูง ก็อาจจะหายได้เองประมาณ 3 - 10 วัน โดยไม่ ต้องรับประทานยาเลยก็ได้ หลังอาการอักเสบทุเลา ผิวหนังบริเวณที่เคยอักเสบอาจลอกเป็น แผ่น คล้ายกับหายเป็นหนอง สาเหตุที่เกี่ยวข้องและอาจเป็น ตัวกระตุ้นทำให้เกิดข้ออักเสบคือ
ก. การได้รับบาดเจ็บ อุบัติเหตุที่บริเวณนั้น ๆ และเนื่องจากอาการของข้ออักเสบ มักจะเกิด ในข้อบริเวณเท้าดังได้กล่าวข้างต้น บางครั้งเพียงแต่ไปเดินหรือวิ่ง ผู้ป่วยไม่ได้ไป รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บมา มีการออกกำลังกายมากเกินไปเท่านั้น ก็อาจเกิดอาการข้ออักเสบได้
ข. การได้รับยาบางประเภท
ค. การรับประทานอาหารที่มีกรดยู ริคสูง หรือดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
ง. อาการอักเสบซึ่งร่วมกับ การเจ็บป่วยบางอย่าง
จ.อาการอักเสบของข้อ หลังจากการผ่าตัดในบริเวณอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับข้อนั้น ๆ
2.การเป็นก้อนเนื้อจากโรค เก้าท์ [ TOPHUS ] ก้อนเนื้อนี้เป็น การรวมตัวกันของเกลือกรดยูริคซึ่งมักจะพบได้หลัง จากที่ผู้ป่วยมีอาการข้ออักเสบครั้งแรกมาแล้วเป็น เวลานาน โดยทั่ว ๆ ไปประมาณ 10 ปี มักจะพบก้อนเนื้อ นี้ได้บริเวณหลังข้อศอก ที่บริเวณเส้นเอ็นร้อยหวาย ที่บริเวณมือทั้งหลัง มือและฝ่ามือ ที่บริเวณติ่งหู เป็นต้น บางครั้งก้อนเนื้อนี้จะ แตกออก และมีน้ำสีขาวข้นลักษณะเหมือนยาสีฟันไหลออก มา ซึ่งในการรักษาตัวเมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้น คือการให้ ยารักษาแผล ป้องกันการติดเชื้อ และบางครั้งอาจจะต้องทำ การผ่าตัดรักษาเลย
3. โรคเก้าท์ที่เกี่ยวข้องกับ ไต อาจจะพบภาวะการขับโปรตีนทางปัสสาวะ ร่วมกับภาวะความ ดันโลหิตสูงในโรคไตที่เกี่ยวข้องกับโรคเก้าท์ได้ ในกรณีที่โรคทวีความรุนแรงขึ้น อาจพบ ว่าเป็นโรคนิ่วในไต ไตอักเสบอย่างรุนแรง ความดันโลหิตสูงมาก อุบัติการของการเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะ มีสูงในผู้ป่วยโรคเก้าท์
โรคแทรกซ้อนจากโรค เก้าท์
ในรายที่เป็นโรคเก้าท์อยู่เป็นเวลา นาน ๆ โดยเฉพาะรายที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูก ต้องอาจจะนำไปสู่ภาวะผิดปกติ เช่น
เบาหวาน
โรคหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งถ้าเป็นในบริเวณหัวใจ หรือสมองก็จะทำให้เกิดอันตรายได้มาก
โรคความดันโลหิตสูง
โรคไตชนิดต่าง ๆ
การรักษา
ส่วนสำคัญที่สุดในการรักษาคือ การให้ความรู้เรื่องโรคเก้าท์ต่อผู้ป่วยและ ญาติที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือชะลอไม่ให้เกิดข้ออักเสบขึ้นบ่อย ๆ หรือเกิดก้อนเนื้อจากโรคเก้าท์ [ Tophus ]
ก. การปฏิบัติตัว โดยการเปลี่ยนกิจวัตรประจำ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดข้ออักเสบ เช่น การรับ ประทานอาหารที่มีสารกรดยูริคสูง การดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ การออกกำลัง กาย บางประเภท การลดน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้ลดระดับเกลือก รดยูริคในเลือด หรือการงดใช้ยาบางประเภทที่ทำให้ข้ออักเสบได้บ่อย
ข.การให้ยา เช่น ยาลดอาการอักเสบ
ค.การให้ยาเพื่อเร่งการขับ ถ่ายเกลือกรดยูริค ออกทางปัสสาวะ
ง.การให้ยาที่ลดการสร้างเกลือก รดยูริคในร่างกาย
ยาตามข้อ ก. และ ง. จะทำให้ระดับเกลือก รดยูริคในเลือดลดลง ทำให้อุบัติการการเกิดข้ออักเสบจะลดลง
พลตรี นายแพทย์ชู ศักดิ์ สุวรรณศิริกุล

โรคเกาท์ Gout

โรคปวดข้อเรื้อรังที่ชาวบ้านรู้จักและได้ยินคุ้นหูมานานว่า โรคเกาท์ เป็นโรคที่มีมาแต่โบราณกว่า 2,500 ปี แล้ว ฮิปโปเครติส บิดาแห่งวงการแพทย์สากล ตั้งชื่อโรคนี้ว่า "เกาท์" ตามตำแหน่ง การอักเสบ ของข้อ เกาต์ มาจาก ภาษาลาตินว่า "Gutta" ซึ่งหมายถึง การอักเสบของข้อ ที่เกิดจากสารพิษ ชนิดหนึ่ง ที่หยดเข้าไปในข้อ ทีละหยด จากรายงานของโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบว่า โรคเกาต์ เป็นโรคปวดข้อเรื้อรัง ที่พบมากกว่าโรคปวดข้อรูมาตอยด์ และอาการปวดข้อชนิดอื่น ๆ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในอัตราส่วน ชาย:หญิง เท่ากับ 9 : 1 และพบว่าโรคเกาต์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ด้วย
โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริกที่สะสมภายในข้อ กรดยูริก เป็นสารชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการย่อยสลายของสาร เพียวริน ที่มีมากในเนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ และพืชผักยอดอ่อน (หน่อไม้ ถั่วงอก สะเดา ยอดผักอ่อน แตงกวา) ในคนปกติทั่วไป หากกินเนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ และพืชผัก ยอดอ่อน ในปริมาณมาก ร่างกายจะมีการสร้างกรดยูริกมากขึ้น แต่ก็สามารถขับกรดยูริกส่วนเกิน ออกทางไตได้ ร่างกายจึงสามารถ รักษาสมดุล ของกรดยูริกไว้ได้ โดยอัตโนมัติ แต่สำหรับคนที่มีความบกพร่อง ในการรักษาสมดุลของกรดยูริก กล่าวคือ หากกินอาหาร ที่มีสาร เพียวรินมาก หรือมีความผิดปกติ ของการสร้างกรดยูริก ร่างกายก็จะสร้างกรดยูริกมาก แต่ไม่สามารถขับกรดยูริกส่วนเกิน ออกได้เต็มที่ ดังเช่นตนปกติทั่วไป จึงมีการสะสมกรดยูริกส่วนเกิน ไว้ในร่างกาย เกิดการตกตะกอนอยู่ตามข้อ ตามผนังหลอดเลือด ในไต อวัยวะต่าง ๆ ทำให้เป็น โรคเกาต์ขึ้น การที่จะวินิจฉัยว่า เป็นโรคเกาต์หรือไม่นั้น ทำได้โดยการเจาะน้ำ ที่ไขข้ออักเสบ ไปตรวจ จะพบผลึกยูริก โดยขณะที่มีการอักเสบของข้อ ระดับกรดยูริก ในเลือด จะสูงหรือไม่ก็ได้
ผู้ที่เป็นโรคเกาต์จะมีอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลัน และรุนแรง โดยเริ่มจาก ปวดข้อเท้า ปวดข้อนิ้วเท้าก่อน ต่อมาจะปวดบริเวณข้อเข่า ข้อนิ้วมือ ส่วนใหญ่จะปวดตอนกลางคืน และมักจะปว เพียงข้อเดียวก่อน ข้อที่ปวด จะบวมแดงร้อน และเจ็บมากจนเดินไม่ไหว อาจมีไข้หนาวสั่น ถ้าปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษา อาการของโรค อาจจะหายได้เอง จนดูเหมือนคนปกติ แต่แท้ที่จริงแล้ว จะกลายเป็นโรคเกาต์เรื้อรัง จนเกิดอาการปวดข้อเรื้อรัง ซึ่งอาจใช้เวลาเป็น 10 ปี ซึ่งระยะนี้ อาจตรวจพบปุ่มก้อน ขึ้นบริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อเข่า ข้อศอกเป็นต้น ปุ่มก้อนนี้ จะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งแตกออก มีสารสีขาว ๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟัน ไหลออกมา และเกิดแผลเรื้อรัง หากผู้ป่วยยังละเลย ไม่ไปรับการรักษา อาจทำให้เกิดข้อพิการ เนื่องจากกรดยูริก ไปสะสมบริเวณข้อ อาจเกิดนิ่วในไต เนื่องจากกรดยูริกสะสมจนเกิดไตพิการ และยังทำให้เกิดภาวะ หลอดเลือดแข็งตัว และตีบตันตามมาอีกด้วย
ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถรักษาผู้ป่วยโรคเกาต์ให้หายได้เกือบ 100% โดยการให้ยา ลดการอักเสบของข้อ หรือยาลดระดับกรดยูริกในเลือด แล้วแต่ข้อบ่งชี้ แพทย์จะนัดผู้ป่วยเป็นระยะทุก 2-3 เดือน เพื่อตรวจเลือดดูระดับกรดยูริก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันการอักเสบ ของข้อซ้ำ ๆ หรือผลแทรกซ้อน ที่มีต่ออวัยวะอื่น ๆ เมื่อผู้ป่วยกินยาลดระดับกรดยูริก จนเป็นปกติ ก็อาจไม่จำเป็น ต้องควบคุมอาหาร อย่างเคร่งครัดนัก
โรคเกาต์หากเกิดกับผู้ใดแล้วจะเกิดความทุกข์ทรมาน การที่ผู้ป่วยรู้จักรักษา และป้องกันตนเอง ให้แข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ จะสามารถช่วยบรรเทา อาการกำเริบของโรคได้ ข้อควรปฏิบัติก็คือ งดการดื่มเหล้า และเบียร์ เพราะแอลกอฮอร์ในเครื่องดื่ม จะทำให้ไต ขับกรดยูริกได้น้อยลง จนเกิดโรคกำเริบได้ ควรทำจิตใจ ให้ร่าเริง แจ่มใส ทำใจอย่าให้เกิดความเครียด หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตามความเหมาะสม และควรงดอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักยอดอ่อน เช่น หน่อไม้ ถั่วงอก สะเดา ยอดกระถิน ยอดผักอ่อน แตงกวา ในรายที่มีอาการปวดข้อ และโรคกำเริบ หากไม่มีอาการปวดข้อกำริบ และกินยาลดกรดยูริกเป็นประจำ ก็อาจกินอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อวัว ปลา ได้บ้าง ในปริมาณที่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย การที่ผู้ป่วย ดูแลรักษาสุขภาพ ของตัวเองอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้สามารถ ใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข และยืนยาว เช่นคนปกติทั่วไป
[ ข้อมูลจาก: หนังสือเวชปฏิบัติที่น่ารู้โดย น.พ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ ปี 2540, คู่มือตำราโรคข้อ โรงพยาบาลศิริราช ]

GoutDak เก๊าต์แดก


GoutDak เก๊าต์แดก
วันนี้เป็นอีกวันหนึ่ง ที่เก๊าต์แดก โรคเก๊ากำเริบ ที่บริเวณข้อนิ้วโป้งเท้าขวา บวมมาก แล้วเดินไม่ได้ ก็เลย เปิดเวบไซด์ "goutdak เก๊าต์แดก" ซะเลย เพื่อเผยแพร่ ให้ท่านทั้งหลาย ที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน ได้ทราบแห่งวิถี ที่มา ที่ไป การรักษาและปฎิบัติตน ให้หายจากโรค ทั้งปวง รวมทั้ง อาหาร การกิน ดื่ม เที่ยว
พี่ตุ๊ พสบ.ทอ.1
31 มีนาคม 2553
31st of March 2010
eMail:goutdak@gmail.com
และหลังจาก ข่าวที่ผมป่วย ถึงหู มีพี น้อง เพื่อน ฝูง ในแวดวง IT ตอบรับดีมาก ก็เลย เปิดเวบไซด์ "goutdak เก๊าต์แดก" ซะเลย
www.goutdak.com

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
"ที่มาของชื่อเวบไซต์ "GoutDak เก๊าท์แดก" วันนี้เป็นอีกวันหนึ่ง ที่เก๊าท์แดก โรคเก๊าท์กำเริบ ที่บริเวณข้อนิ้วโป้งเท้าขวา บวมมาก แล้วเดินไม่ได้ ก็เลย เปิดเวบบอลค์ "GoutDak เก๊าท์แดก" ซะเลย พี่เอี้ยง พลอากาศตรี หญิง ปริชาติ นกน้อย เพื่อนกันตั้งให้ โทรไปพี่เอี้ยง ทักเลย ได้ข่าวว่า" ตุ๊ เก๊าท์แดก" ก๊เลยหัวเราะกันด้วยความสนุกสนาน(ก็เลยเป็นที่มาของชื่อเวบไวด์ ซะเลย) พี่ตุ๊ KPI เมื่อ 31 มีนาคม 2553 Establish March 31, 2010 www.goutdak.blogspot.com eMail:goutdak@gmail.com